วิธีการอ้างอัญพจน์ ควรปฏิบัติดังนี้ (ยาวหน่อยนะ)

วิธีการอ้างอัญพจน์ ควรปฏิบัติดังนี้

1. การอ้างอัญพจน์โดยตรง (Direct quotation) คือ การนำเอาคำพูดหรือข้อเขียนของคนอื่นมาอ้างโดยไม่เปลี่ยนแปลงข้อความใด ๆ มีวิธีเขียนดังนี้
      1.1 ใส่หมายเลขอ้างอิงกำกับข้างหลังคำสุดท้ายของอัญพจน์
      1.2 ถ้าข้อความที่นำมาอ้างมีความยาวไม่เกิน 3 บรรทัดพิมพ์ ให้เขียนต่อไปจากข้อความในเนื้อเรื่องได้ทันทีโดยไม่ต้องขึ้นบรรทัดใหม่ และให้เขียนข้อความนั้นไว้ในเครื่องหมายอัญประกาศ "………"
      1.3 ถ้าข้อความที่นำมาอ้างมีความยาวเกิน 3 บรรทัดพิมพ์ ให้ขึ้นย่อหน้าใหม่แล้วจึงเขียนข้อความ และไม่ต้องใส่เครื่องหมายอัญประกาศ
      1.4 ถ้านำข้อความมาอ้างเพียงบางส่วน บางส่วนต้องการเว้นไว้ไม่คัดลอกมา ให้ใช้เครื่องหมายมหัพภาค 3 จุด (...) ใส่แทนข้อความที่เว้นไว้
      1.5 ถ้าต้องการเติมข้อความบางอย่างในอัญพจน์เพื่อทำให้เข้าใจเนื้อเรื่องได้ดียิ่งขึ้นให้นำข้อความที่เติมใส่ไว้ในเครื่องหมายวงเล็บ [ ]
      1.6 ถ้าจะอ้างข้อความที่เป็นคำพูดซ้อนคำพูด ให้ใส่เครื่องหมายอัญประกาศเดี่ยวซ้อนอัญประกาศคู่ เช่น " ……… '………..' ………"
      1.7 ถ้าข้อความที่นำมาอ้างเขียนไม่จบในหน้าเดียวกัน ก่อนขึ้นหน้าใหม่ให้ใส่ เครื่องหมายทับ (/) ท้ายตัวอักษรตัวสุดท้ายก่อนแล้วจึงขึ้นหน้าใหม่

2. การอ้างอัญพจน์โดยอ้อม (Indirect Quotation) คือ การนำเอาคำพูดหรือข้อเขียนของคนอื่นมาอ้างโดยสรุปเอาแต่สาระสำคัญเท่านั้น การอ้างแบบนี้ไม่ต้องใส่เครื่องหมายอัญประกาศแต่ต้องใส่หมายเลขอ้างอิงกำกับ
       ข. เชิงอรรถ (Footnote) คือข้อความที่เขียนไว้ข้างล่างสุดของรายงานแต่ละหน้า มีไว้เพื่อบอกที่มาของอัญพจน์ที่นำมาอ้างในรายงาน หรือเพื่ออธิบายความ หรือเพื่อโยงให้ไปดูเพิ่มข้อความที่เกี่ยวข้องกันในหน้าอื่นมี 3 ประเภทดังนี้
     1 เชิงอรรถเสริมความ (Content footnotes) คือเชิงอรรถที่อธิบายรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับเนื้อเรื่อง ใช้เครื่องหมายดอกจันกำกับ
     2 เชิงอรรถโยง (Cross-reference footnotes) คือ เชิงอรรถที่โยงให้ผู้อ่านไปดูเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกันในหน้าอื่น หรือเป็นเชิงอรรถที่เพิ่มเติมให้ผู้อ่านหารายละเอียดเกี่ยวกับเรื่องนั้น ๆ ได้ ใช้เครื่องหมายดอกจันกำกับเช่นกัน การใช้เครื่องหมายดอกจันกำกับนี้ กำหนดให้ในแต่ละหน้าใช้ได้ไม่เกิน 3 ดอก (***)
      3 เชิงอรรถอ้างอิง (Citation footnotes) คือ เชิงอรรถที่บอกแหล่งที่มาของอัญพจน์ คือบอกให้ทราบว่าข้อความหรือคำพูดที่นำมาอ้างในรายงานนำมาจากเอกสารหรือจากบุคคลใด ใช้ตัวเลขกำกับ
ชนิดของเชิงอรรถอ้างอิง มีดังนี้ คือ
        1. เชิงอรรถอ้างอิงที่อ้างเป็นครั้งแรก
        2. เชิงอรรถอ้างอิงที่อ้างจากเอกสารที่เคยอ้างมาแล้ว
เชิงอรรถอ้างอิงที่อ้างเป็นครั้งแรก เป็นการนำอัญพจน์จากแหล่งข้อมูลแหล่งหนึ่ง มาเขียนอ้างในรายงานเป็นครั้งแรก เชิงอรรถอ้างอิงของอัญพจน์นั้นจะเรียกว่าเชิงอรรถอ้างอิงที่อ้างครั้งแรก ซึ่งมีรูปแบบการลงเชิงอรรถแตกต่างกันไปตามชนิดของแหล่งข้อมูลที่นำมาอ้างอิง ในที่นี้จะกล่าวถึงเฉพาะประเภทของข้อมูลที่ใช้อ้างอิงเสมอ ๆ คือข้อมูลจาก
1. หนังสือ
2. บทความจากวารสารหรือหนังสือพิมพ์
3. วิทยานิพนธ์
4. การสัมภาษณ์

5.  สื่ออีเล็กทรอนิกส์ระบบออนไลน์

1. หนังสือ
รูปแบบ เขียนได้ 2 แบบดังนี้
       ก. หนังสือที่พิมพ์ครั้งแรก เขียนดังนี้

          ข. เชิงอรรถอ้างอิงที่อ้างจากเอกสารที่เคยอ้างมาแล้ว มีวิธีเขียนดังนี้
       1. ถ้าอ้างเอกสารเรื่องเดิม หน้าเดิม โดยไม่มีเชิงอรรถอื่นมาคั่น และเป็นเอกสารภาษาไทย ให้ใช้ว่า "เรื่องเดียวกัน" แต่ถ้าอ้างเอกสารเรื่องเดิมแต่ต่างหน้ากัน ให้ระบุเลขหน้าด้วย เช่นเรื่องเดียวกัน
       2. ถ้าอ้างเอกสารเรื่องเดิม แต่มีเอกสารอื่นมาคั่น ให้ลงรายการย่อดังนี้
·  ตัดข้อความส่วนที่เป็นสถานที่พิมพ์ สำนักพิมพ์ ปีที่พิมพ์ออก
·  ถ้าเป็นหนังสือภาษาอังกฤษให้เขียนเฉพาะนามสกุลของผู้แต่ง
·  ให้เขียนเฉพาะตัวเลขของพิมพ์ครั้งที่ ไม่ต้องเขียนคำว่าพิมพ์ครั้งที่

วิธีการนำเสนอรายงาน
    - 
รายงานด้วยปากเปล่า (Oral Reports)  หรือเสนอด้วยวาจา  โดยการเสนอแบบบรรยายต่อที่ประชุมต่อผู้บังคับบัญชา ฯลฯ  ในกรณีพิเศษเช่นนี้ ควรจัดเตรียมหัวข้อที่สำคัญ ๆ ไว้ให้พร้อม  โดยการคัดประเด็นเรื่องที่สำคัญ  จัดลำดับเรื่องที่จะนำเสนอก่อนหน้าหลังไว้
    - 
รายงานเป็นลายลักษณ์อักษร (Written Reports)  มักทำเป็นรูปเล่ม  เป็นรูปแบบการนำเสนออย่างเป็นทางการ (Formal Presentation)
บรรณานุกรม (Bibliography) คือ หน้าหนังสือที่รวบรวมรายชื่อของหนังสือและเอกสารต่างๆ ที่นำมาใช้อ้างอิงในการทำรายงาน รายการวัสดุสารนิเทศ อันได้แก่สื่อสิ่งพิมพ์ สื่อโสตทัศนวัสดุ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ รวมทั้งแหล่งข้อมูลอื่นๆที่ผู้เขียนนำมาใช้อ้างอิงซึ่งปรากฏเป็นรายการอ้างอิง(citations)อยู่ในเนื้อหาของรายงานหรือภาคนิพนธ์นั้นๆโดยมีรายละเอียดทางบรรณานุกรมของแหล่งข้อมูลเหล่านั้นอย่างครบถ้วนสำหรับให้ผู้สนใจใช้ตรวจสอบหรือไปศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมได้ในห้องสมุดหรือแหล่งสารนิเทศอื่นๆ

วิธีเขียนบรรณานุกรม
1.    การเรียงเอกสารและข้อมูลต่างๆที่ใช้ในการอ้างอิง ให้เรียงตามลำดับตัวอักษรของพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานเล่มปัจจุบัน หรือตามพจนานุกรมภาษาอังกฤษที่เป็นที่ยอมรับกันทั่วไปโดยไม่ต้องแยกประเภทของเอกสาร
2.    ถ้าผู้แต่งเป็นคนไทยให้เขียนชื่อก่อนแล้วตามด้วยนามสกุล ถึงแม้เอกสารนั้นจะเขียนเป็นภาษาต่างประเทศก็ตาม แล้วเรียงตามลำดับ ก-ฮ. ของชื่อผู้แต่ง
3.    ถ้าผู้แต่งเป็นคนต่างประเทศ ให้เขียนนามสกุลก่อนตามด้วยอักษรย่อหรือชื่อต้นและชื่อกลางถ้ามี แล้วเรียงตามลำดับ A-Z ของนามสกุลผู้แต่ง
4.    เรียงสิ่งพิมพ์ภาษาไทยก่อนแล้วจึงต่อด้วยภาษาต่างประเทศ
5.    ถ้าหน้าชื่อผู้แต่งมีราชทินนาม ฐานันดรศักดิ์ สมณศักดิ์ และประเภทขององค์กรหรือหน่วยงานให้เรียงราชทินนาม ฐานันดรศักดิ์ สมณศักดิ์ และประเภทขององค์กรหรือหน่วยงานไว้หลังชื่อผู้แต่งหรือชื่อองค์กรหรือหน่วยงานก่อนแล้วค่อยเรียงลำดับตัวอักษร
6.    ไม่ต้องใส่ยศ วุฒิ หรือตำแหน่งทางวิชาการ
7.    ถ้าผู้แต่งเป็นคนต่างประเทศ และมีผู้แต่งหลายคนให้เขียนนามสกุลก่อนทุกคน หรือเขียนนามสกุลก่อนเฉพาะผู้แต่งคนแรก
8.    ถ้ามีผู้แต่ง 2 คน หรือมากกว่า 2 คน แต่ไม่เกิน 5 คน ลงชื่อผู้แต่งทุกคน แต่ถ้ามีผู้แต่ง 6 คน หรือมากกว่านั้นให้ใช้คำว่า "คนอื่น ๆ" สำหรับเอกสารภาษาไทย และใช้คำว่า "et al. หรือ and others" สำหรับเอกสารภาษาอังกฤษ
9.    ถ้าผู้แต่งเป็นสถาบันให้เขียนหน่วยงานระดับสูงก่อน และถ้าชื่อสถาบันมีคำนำหน้าซ้ำเช่น กรม กระทรวง ให้เขียนคำนำหน้าซ้ำนั้นไว้ข้างหลัง
10.                       หนังสือภาษาอังกฤษที่แปลมาจากภาษาอื่น ให้ใช้คำเต็มว่า Translated by
รูปแบบของบรรณานุกรม
  1. หนังสือ
    รูปแบบ ชื่อผู้แต่ง. ชื่อหนังสือ. เล่มที่หรือจำนวนเล่ม. (ถ้ามี) ครั้งที่พิมพ์. (ถ้ามี) ชื่อชุดหนังสือและลำดับที่. (ถ้ามี) สถานที่พิมพ์ : สำนักพิมพ์ หรือโรงพิมพ์, ปี ที่พิมพ์.
  2. บทความในวารสาร
    รูปแบบ ชื่อผู้เขียนบทความ. ชื่อบทความ. ชื่อวารสาร ปีที่ (เดือนปี) : เลขหน้า.
* ไม่ต้องเขียนเครื่องหมายคำพูดที่ชื่อบทความ
  1. บทความในหนังสือพิมพ์
    รูปแบบ ชื่อผู้เขียนบทความ. ชื่อบทความ. ชื่อหนังสือพิมพ์ (วัน เดือน ปี) : เลขหน้า
* ไม่ต้องเขียนเครื่องหมายคำพูดที่ชื่อบทความ
  1. วิทยานิพนธ์
    รูปแบบ ชื่อผู้เขียนวิทยานิพนธ์. ชื่อวิทยานิพนธ์. ระดับวิทยานิพนธ์ ชื่อแผนกวิชาหรือภาควิชา คณะ มหาวิทยาลัย, ปีที่พิมพ์.
* ขีดเส้นใต้ชื่อวิทยานิพนธ์
  1. สัมภาษณ์
    รูปแบบ ผู้ให้สัมภาษณ์. ตำแหน่ง (ถ้ามี). สัมภาษณ์, วัน เดือน  ปี.

การใช้เครื่องหมายวรรคตอน
เครื่องหมายมหัพภาค (. )
1.ใช้เพื่อกำกับอักษรย่อ
         1.1 วางติดหลังพยัญชนะที่ต้องการย่อ เช่น พ.ศ.
         1.2 ก่อนขึ้นคำหรืออักขระต่อไปให้เว้น ๑ วรรค เช่น พ.ศ. ๒๕๔๘
     2. ใช้หลังตัวเลขหรือตัวอักษรเพื่อบอกลำดับข้อ
2.1         วางติดหลังพยัญชนะ หรือตัวเลขที่เป็นลำดับข้อ เช่น ๑. หรือ ก. หรือ a. เป็นต้น
2.2         ก่อนขึ้นข้อความ หรืออักขระต่อไปของลำดับข้อนั้นให้เว้น ๑ วรรค เช่น ๑. สีแดง
2.3         กรณีมีข้อย่อย ใส่ลำดับข้อย่อยไว้หลังจุด และเว้น ๑ วรรคก่อนขึ้นข้อย่อย เช่น ๑. ก.
เครื่องหมายจุลภาค ( , )
1.    กรณีใช้แยกวลี หรืออนุประโยคออกจากกัน
1.1  วางเครื่องหมายติดท้ายพยัญชนะของวลี หรือประโยคที่อยู่หน้า                                                             1.2  ก่อนขึ้นวลีหรือประโยคถัดไปเว้นวรรค ๑ วรรค เช่น กรณีของการลงโปรแกรมที่ไม่รู้จัก, เราอาจจะศึกษาจากคู่มือได้
2.    กรณีใช้คั่นระหว่างคำ
2.1    การใช้เรื่องหมายจุลภาคคั่นคำในรายการ จะใช้กับรายการตั้งแต่ ๓ รายการขึ้นไป ใช้เครื่องหมายคั่นระหว่างรายการโดยให้เครื่องหมายติดที่พยัญชนะท้ายของคำหน้า และก่อนขึ้นคำต่อไปวรรค ๑ วรรค
2.2    คำรายการสุดท้ายใช้คำว่า "และ" หรือ "หรือ" โดยไม่ต้องมีเครื่องหมายคั่นระหว่างคำก่อนสุดท้ายกับคำสุดท้าย เช่น สิ่งที่ต้องเตรียมก่อนคือ พื้นที่, อุปกรณ์ และวัตถุดิบ
เครื่องหมายอัฒภาค (;)
1.    กรณีใช้คั่นระหว่างประโยค ซึ่งอาจจะใช้แยกประโยคเปรียบเทียบออกจากกัน หรือเพื่อแสดงความต่อเนื่องอย่างใกล้ชิดของประโยค
1.1    วางเครื่องหมายติดพยัญชนะท้ายของประโยคหน้า และวรรค ๑ วรรคก่อนขึ้นประโยคใหม่ เช่น
1.2    หากตึงเกินไปก็อาจจะขาด; ในขณะเดียวกันหากหย่อนเกินไปก็ไม่กระชับ
1.3    วางเครื่องหมายติดพยัญชนะท้ายของประโยคหน้า และวรรค ๑ วรรคก่อนขึ้นประโยคใหม่
2.    กรณีใช้คั่นเพื่อจำแนกรายการออกเป็นพวกๆ อาจมีเครื่องหมายคั่นเช่น เครื่องหมายจุลภาคอยู่ในระหว่างกลุ่มอยู่แล้ว
2.1    วางเครื่องหมายติดพยัญชนะท้ายของกลุ่มคำข้างหน้า และวรรค ๑ วรรคก่อนขึ้นกลุ่มคำใหม่ เช่น
2.2    การสัมมนาครั้งนี้มีผู้แทนจากหน่วยราชการต่างๆ เข้าร่วมด้วย เช่น กรมวิชาการ, กรมอาชีวศึกษา, ในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ; กรมป่าไม้, กรมวิชาการเกษตร, ในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์; กรมอนามัย, กรมการแพทย์, ในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข
3.    กรณีใช้คั่นระหว่างกลุ่มตัวเลข
3.1    ให้วรรคหน้าเครื่องหมายหนึ่งวรรค และหลังเครื่องหมายหนึ่งวรรค เช่น                   ๑ : ,  : ๑๐ ;  : ,  :
เครื่องหมายทวิภาค (:)
      กรณีใช้กับตัวเลข เพื่อแสดงมาตราส่วน, อัตราส่วน หรือสัดส่วน
1.  แผนที่นี้ใช้มาตราส่วน ๑ : ๑๐๐,๐๐๐
           2. ในการหุงข้าวใช้ข้าวและน้ำในอัตราส่วน ๑ : ๒  ในการผสมคอนกรีตใช้ปูน ซีเมนต์ หิน และทราย ในสัดส่วน ๑ :  :
เครื่องหมายวิภัชภาค (:-)
·       กรณีใช้หลังคำ "ดังนี้, ดังต่อไปนี้ ฯลฯ" เพื่อแจกแจงรายการ  เครื่องหมายจะอยู่ติดพยัญชนะท้ายสุดของประโยค และรายการที่มีเครื่องหมายนี้จะต้องขึ้นย่อหน้าใหม่ทุกๆ รายการ
                    การสัมมนาครั้งนี้มีผู้แทนจากหน่วยราชการต่างๆ เข้าร่วมประชุม ดังต่อไปนี้:-
กรมวิชาการ
กรมอาชีวศึกษา
กรมวิชาการเกษตร
กรมอนามัย
กรมการแพทย์

เครื่องหมายยัติภังค์ (-)

เครื่องหมายวงเล็บ ( )

1.  กรณีการใช้เพื่อกั้นข้อความที่ขยายหรืออธิบาย จากข้อความอื่น หรืออื่นๆ เช่น บอกข้อความที่เป็นตัวอย่าง เป็นต้น
o    วรรค ๑ วรรค ที่หน้าเครื่องหมายวงเล็บเปิด และ ๑ วรรคหลังเครื่องหมายวงเล็บปิด
o    ข้อความที่อยู่ในวงเล็บจะติดกับวงเล็บ ทั้งวงเล็บเปิด และวงเล็บปิด เช่น
§  จึงสรุปได้ว่า มนุษย์หรือขันธ์ ๕ นั้น ได้สร้างโลภะ (ความโลภ) โทสะ (ความโกรธ) และโมหะ (ความหลงผิด) ให้แก่ตัวเองทั้งสิ้น
(ที่ระลึก งานสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ ๒๐๐ ปี ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พุทธศักราช ๒๕๒๕ บริษัทบพิธการพิมพ์ จำกัด พ.ศ. ๒๕๒๕ หน้า ๑๑๙)
2.  กรณีใช้กับตัวเลขหรือตัวอักษรที่ใช้บอกลำดับข้อ
o    วรรค ๑ วรรค หลังเครื่องหมายวงเล็บปิด
o    อักขระที่อยู่ในวงเล็บจะติดกับวงเล็บ ทั้งวงเล็บเปิด และวงเล็บปิด เฮ้
เครื่องหมายไปยาลน้อย (ฯ)
1.  ใช้ละส่วนท้ายของคำที่รู้กันดีแล้ว
o    วางเครื่องหมายไว้ติดท้ายคำ เช่น กรุงเทพฯ
o    ก่อนขึ้นวลีหรือประโยคถัดไปให้เว้นวรรค ๑ วรรค เช่น กรุงเทพฯ เป็นเมืองหลวงของประเทศไทย
2.  ใช้ละส่วนท้ายของวิสามานยนาม (ชื่อเฉพาะ) ซึ่งได้กล่าวมาก่อนแล้ว
o    มีหลักเกณฑ์ในการใช้เช่นเดียวกับกรณีแรก ตัวอย่างเช่น วัดพระเชตุพนฯ
เครื่องหมายปรัศนี (?)
  • ในกรณีใช้เมื่อสิ้นสุดความหรือประโยคที่เป็นคำถาม หรือใช้หลังข้อความเพื่อแสดงความสงสัยหรือไม่แน่ใจ เป็นต้น
    • ใช้วางท้ายข้อความหรือประโยค โดยวรรค ๑ วรรค ก่อนวางเครื่องหมาย เช่น
      • ต้องการลบหรือไม่ ? หรือ ลบ ?


เครื่องหมายอัศเจรีย์ (!)
1.  กรณีใช้หลังคำ วลี หรือประโยคที่เป็นคำอุทาน
o    วรรค ๑ วรรคที่หน้าเครื่องหมาย เช่น อุ้ย !
2.  กรณีใช้หลังคำเลียนเสียงธรรมชาติ
o    วรรค ๑ วรรคที่หน้าเครื่องหมายเช่นกัน เช่น โครม !
เครื่องหมายอัญประกาศ (" ")
ใช้ในกรณีต่างๆ ได้แก่
1.  ใช้แสดงว่าคำหรือข้อคำพูด หรือความนึกคิด
2.  ใช้เพื่อแสดงว่าข้อความนั้นคัดมาจากที่อื่น
3.  ใช้เพื่อแสดงการเน้นให้ข้อความนั้นเด่นชัดขึ้น
4.  ใช้เพื่อแสดงว่ามีความหมายผิดไปจากปกติ
การใช้
  • วรรค ๑ วรรค หน้าเครื่องหมายอัญประกาศเปิด และวรรค ๑ วรรค หลังเครื่องหมายอัญประกาศปิด
  • ข้อความในเครื่องหมายจะต้องอยู่ติดกับเครื่องหมาย ทั้งอัญประกาศเปิด และอัญประกาศปิด เช่น
ให้ทำสีเน้นตรงข้อความที่ว่า "หากเกิดข้อผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนไม่ขอรับผิดชอบ"
เครื่องหมายไม้ยมก (ๆ)
1.  ใช้เขียนหลังคำ วลี หรือประโยค เพื่อให้อ่านซ้ำอีกครั้งหนึ่ง
o    เครื่องหมายจะอยู่ติดหลังคำที่ต้องการอ่านซ้ำ เร็วๆ
o    ก่อนขึ้นวลีหรือประโยคถัดไปให้เว้นวรรค ๑ วรรค เช่น เร็วๆ เข้าทุกคน
2.  ไม่ใช้ไม้ยมกในกรณีดังต่อไปนี้
o    เมื่อเป็นคำคนละบทคนละความ เช่น เขาแบ่งส้มออกเป็น ๕ กองๆ ละ ๑๐ ผล ให้เขียนเป็น เขาแบ่งส้มออกเป็น ๕ กอง กองละ ๑๐ ผล
o    เมื่อรูปคำเดิมเป็นคำ ๒ พยางค์ที่มีเสียงซ้ำกัน ได้แก่ นานา จะจะ
o    เมื่อเป็นคำคนละชนิด (part of speech) กัน เช่น ฉันจะไปที่ๆ ไกลแสนไกล ให้เขียนเป็น ฉันจะไปที่ที่ไกลแสนไกล
เครื่องหมายทับ (/)
การใช้
  • ใช้เขียนคั่นระหว่างทางเลือก เช่น "ตรวจสอบการสะกดคำอัตโนมัติ เปิด/ปิด"
  • ไม่ต้องเว้นวรรคก่อนและหลังเครื่องหมายทับ (/) 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น